Support

ขึ้นตอนในการตัดเสื้อ
    การวัดตัว มีหลักสำคัญอยู่ 4 ข้อ
1. เวลาวัดตัว ควรจะสวมแต่ชุดชั้นใน จะช่วยให้เห็นสัดส่วนต่างของรูปร่างได้อย่างชัดเจน
2. ใช้สายวัดคาดรอบเอว 1 เส้น โดยคาดให้พอดีเอวอย่าให้คลาดเคลี่อน เพราะถ้าวางเส้นเอวคลาด
    เคลี่ยน จะทำให้เสื้อผ้า ที่ตัดออกมาผิดสัดส่วน
3. ในขณะที่วัดตัวไม่ควรให้ผู้ที่ถูกวัดตัวเอียงข้างหรือก้มหน้า เพราะจะทำให้การวัดตัวผิดสัดส่วนได้
4. ควรจดบันทึกลักษณะรูปร่างของผู้ตัดเสื้อไว้ด้วยว่ามีลักษณะรูปร่างอย่างไร

การสร้างแบบตัดเสื้อ มีหลักสำคัญ ๆ ดังนี้
1. การบวก ลบ คูณ และหารให้มีความแม่นยำ อย่าให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเกิดความผิด
    พลาดขึ้นมาแล้ว จะทำให้เสื้อผ้าที่ตัดผิดสัดส่วนสวมใส่ไม่ได้
2. เมื่อสร้าแบบเสื้อมาตรฐานออกมาได้สัดส่วนแล้ว นำแบบมาตรฐานแปลงแบบตามที่ต้องการ เมื่อ
    สร้างเสร็จแล้วก็นำมาตัดแยกให้เรียบร้อย
3. นำแบบเสื้อที่แยกมาวางลงบนผ้า (ก่อนที่จะผ้าตัดควรนำผ้าไปพรมน้ำให้ชุ่ม เพื่อกันการยืดหกของผ้า
    แล้วนำไปรีดให้เรียบ หรือนำไปแช่น้ำประมาณ 30 นาที เอาขึ้นจากน้ำอย่าบิดผ้า ตากพอหมาดนำไป
    รีดให้เรียบ) ก่อนวางแบบตัดลงบนผ้าควรตรวจดูทางผ้าขึ้นลง และผ้าด้านในและด้านนอก เพื่อไม่ได้
    ผิดพลาดเวลาวางตัด และที่สำคัญอีกอย่างคือลายผ้า ลายดอกไปทางเดียวกัน ลายตรงต้องวางต่อ
    ลายที่ไหล่ให้ตรงกัน ถ้าเป็นเสื้อเชิ้ตต้องวางลายบ่าและหัวแขนให้ตรงกัน ลายขวางต้องวางลายข้าง
    ให้ตรงกัน
4. เมื่อตัดเสร็จนำมากกดรอยให้เรียบร้อย โดยใช้กระดาษคาร์บอนอย่างดี ที่ซักรอบกลิ้งออกง่าย
    กลิ้งลงบนผ้าเบา ๆ แล้วนำเอาชิ้นส่วนของเสื้อผ้าที่กลิ้งแล้วแซกริม ต่อจากนั้นนำมาเนาเข้าด้วยกัน
5. ต้องมีความปราณีตในการเย็บ ตะเข็บต่าง ๆ เมื่อเย็บเสร็จแล้วต้องรีดทุกครั้ง ผ้าบางชนิดบางมาก
    และจะย่นเมื่อเย็บ ควรรองด้วยกระดาษ เวลาเย็บเสร็จแล้วต้องรีดทับตะเข็บก่อนรีดแบตะเข็บ
    (สำหรับผ้าที่ย่น)เสื้อที่ติดตะขอควรติดซ่อนให้มิดชิดและแนยเนียนเสื้อผ้าที่ออกมาดูสวยและมีราคา



การเลือกเครื่องใช้ในการตัดเย็บ
        สายวัดตัว สายวัดตัวที่ดีต้องไม่ยืดหรือหด มีความยาวอย่างน้อย 150 ซ.ม. สำหรับช่างตัดเสื้อสตรีนิยมใช้สายวัดตัวที่มีตัวเลข 2 ด้าน หยิบด้านไหนของสายวัดก็พลิกหาตัวเลยได้เสมอ ปลายของสายวัดตัองหุ้มด้วยโลหะจึงจะทน
-ไม้บรรทัด ที่อ่อนโค้งได้และใสเห็นผ้าข้างใต้ สำหรับงานละเอียดที่ต้องการความเที่ยงตรงในการวัด ความโค้งของไม้บรรทัดช่วยให้วัดโค้งต่าง ๆ ได้เที่ยง รอบวงแขน และรอบคอ เป็นต้น
-ลูกกลิ้ง มี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมเป็นเหมือนเข็มหมุดและชิดลูกล้อเหมือนฟันเลื่อยไม่คมมากนัก
 ชนิดที่เป็นฟันเลื่อยกลิ้งสีติดได้มากกว่า และจุดสีถี่
-กระดาษลอกเส้น คือกระดาษสีอาบด้วยเทียนไข
-ชอล์ก ที่ใช้ในการตัดเย็บ มีหลายสี
-ดินสอดำ 4 B ใช้สร้างแบบ
-ดินสอน้ำเงิน แดง ใช้สร้างแบบตัดและเพื่อแยกสีแผ่นหน้าและแผ่นหลัง
-กรรไกร มีหลายแบบ เพื่องานต่าง ๆ กัน สำหรัยเย็บเสื้อสตรี ใช้ขนาดกลาง คือ 7-8 นิ้ว ด้าม
 มี 2  อย่าง ด้ามโค้งและด้ามตรง อย่างด้ามโค้งจะตัดได้เที่ยงกว่า เพราะใบกรรไกรขนานกับผ้า
 ในขณะตัดกรรไกรของช่างตัดเสื้อต้องระวังให้คมเท่ากัน ตั้งแต่โคนจนถึงปลาย พอที่จะตัดทสั้ง
 ผ้าหนาและผ้าบางได้เรียบเสมอ การเลือกซื้อกรรไกร ให้ทดลองคุณภาพเสียก่อน ลองตัดกับ
 เศษผ้า ง้างกรรไกรให้สุด ตัดผ้าให้ตลอดความยาวของใบกรรไร จากโครไปถึงปลาย ปิดกรรไกร 
 ให้แน่น แล้วถอนกรรไกรออกโดยไม่ง้างใบ ถ้าเส้นด้ายติดอยู่ในกรรไร หมายความว่าใบมีกไม่ดี
 แท้ กรรไกรทุกชนิดต้องระวังไม่ให้ตกและไม่ใช้ตัดสิ่งอื่น ๆ อย่างฝืนใช้ตัดผ้าหนาซึ่งซ้อนกัน
 หลาย ๆ ชั้นใช้น้ำมันหยอดจักร หยอดที่ไขควงโคนด้ามเป็นครั้งคราว
-เข็มจักรใช้สำหรับขนาดแล้วแต่ผ้า ผ้าบางก็ใช้เข็มเล็กขนาดเบอร์ 9 ถ้าผ้าหนาต้องใช้เข็มขนาด
 ใหญ่เบอรื 13 แต่เลือกที่แหลมคมไม่เป็นสนิม
-เข็มสอย ใช้สำหรับเนาและสอย ขนาดแล้วแต่ผ้าบาง ใช้เข็มเล้กเบอร์ 11-12 ถ้าผ้าหนาใช้เข็ม
 เบอร์ 8-9 เป็นต้น เลือกที่แหลมคม
-เข็มหมุด เลือกชนิดที่ไม่เป็นสนิม ปลายแหลมเล็กแต่ยาว
-หมอนปักเข็ม ควรทำให้ใบเล็ก ๆ มีสายรัดติดกับข้อมือซ้าย คล้ายใส่นาฬิกา จะช่วยประหยัดเวลา
 ได้มาก
-ที่เลาะผ้า เมื่อเย็บผิด ใช้เลาะผ้าและเลาะง่ายและสะดวกกว่าใช้อย่างอื่น เลือกชนิดที่คนไม่ขึ้นสนิม
-ผ้าขาวมัสลิน ยาว 1 ฟุต กว้าง 6 นิ้ว ใช้ชุบน้ำปิดบนผ้าที่ต้องการให้เรียบเป็นพิเศษ และอยู่ตัว
 กว่าการรีดแบบฉีดน้ำ วิธีนี้ไม่ทำให้ผ้าคืนตัวเมื่อเย็นลง และยังป้องกันไม่ให้ผ้าเปื้อนเตารีด